กระบวนการทำเห็ด

February 24, 2019
ขี้เลื่อยไม้ยาง

ทำเห็ดก็ต้องหัดบริหารความเสี่ยงด้วย

การบริหารความเสี่ยง(Risk management) เป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของธุรกิจควรมีการวางแผนเอาไว้ เผื่อในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียหาย เราจะได้มีการรับมือกับผลกระทบตรงนั้นได้ทันท่วงที แม้กระทั่งคนทำฟาร์มเห็ดอย่างเราๆ ก็ไม่ควรพลาดที่จะวางแผน บริหารจัดการ  ความเสี่ยงของการเพาะเห็ด ตรงนี้อย่าคิดว่าเราเป็นฟาร์มเล็กๆ แล้วก็ปล่อยไปตามมีตามเกิดก็ได้นะครับ หลักง่ายๆ เราก็เริ่มจากมาไล่หาปัจจัยความเสี่ยงจากการทำเห็ดก่อนเลยครับ ว่ามีอะไรได้บ้าง ไล่ตั้งแต่กระบวนการผลิตทีละขั้นเลยครับ ตั้งแต่ทำก้อนจนเปิดดอก แล้วค่อยมาระบุระดับความเสียหายถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
February 24, 2019

อวสานโลกสวย#คนทำเห็ด

บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเพาะเห็ด เนื่องจาก ช่วงนี้กระแสรักสุขภาพมาแรง เห็ดซึ่งได้ชื่อว่าอาหารเพื่อสุขภาพก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ผู้คนหันมาให้ความสนใจเพาะเห็ดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมกันมากขึ้น ด้วยความที่มีข้อได้เปรียบกว่าการทำเกษตรอื่นๆ (จริงๆผมว่าการทำเห็ดมันกึ่งๆอุตสาหกรรมมากกว่าครับ) เนื่องจากไม่ต้องใช้เนื้อที่เยอะมาก สามารถทำโรงเรือนแทรกตามแปลงปลูกต้นไม้ได้ อีกทั้งการทำเห็ดยังมีอุปสรรคในการเข้าสู่ธุรกิจต่ำ มีคอร์สเปิดอบรมมากมายให้เรียนรู้รวมถึงอุปกรณ์การทำก็หาซื้อได้ไม่ยาก
February 24, 2019

ใส่ส่วนผสมก้อนเห็ดเยอะไป ก็ใช่จะดี

เวลาคนมาซื้อก้อนเห็ด สิ่งนึงที่มักถูกถามคืออาหาร ส่วนผสมก้อนเห็ด ใส่เยอะหรือเปล่า ที่ฟาร์มนั้นเค้าใส่ตัวนั้นตัวนี้ แล้วไปเข้าใจว่าถ้าไม่ใส่จะไม่ดีซึ่งตรงนี้ยังคงมีบางท่านที่ยังเข้าใจผิดอยู่ในเรื่องของส่วนผสมในก้อนเห็ดครับ เห็ดโดยทั่วไป การที่เราจะใส่ส่วนผสมเช่น รำกากน้ำตาล ปูนขาว ยิปซั่ม หรืออาหารเสริมเยอะๆเข้าไป นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว ข้อเสียที่ตามมามากกว่าก็คือก้อนที่เสียไว ถูกราแข่งขันเล่นงานได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น รำในเห็ดนางฟ้า โดยทั่วไป เราจะใส่เพียงแค่ 6% ก็เพียงพอแล้ว การใส่มากไปไม่ได้ทำให้เห็ดออกดีขึ้น กลับทำให้ก้อนเป็นราเขียวได้ง่ายขึ้น หรือปูนขาวกับยิปซั่มซึ่งหน้าที่หลักๆเอาไว้ปรับค่า pH ในก้อน
February 24, 2019
เห็ดนางฟ้า หลักการคิดจุดคุ้มทุนก้อนเห็ด

หลักการคิดจุดคุ้มทุนก้อนเห็ด

หัวข้อนี้เป็นคำแนะนำให้ผู้ที่ซื้อก้อนเห็ดไปเปิดที่บ้านเป็นอาชีพเสริมครับ เป็น หลักการคิดจุดคุ้มทุนก้อนเห็ด ผมขอยกตัวอย่างเห็ดนางฟ้าเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ โดยท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเห็ดอื่นๆได้เช่นกัน สมมติท่านไปซื้อก้อนเห็ดนางฟ้ามาก้อนละ 7 บาทจำนวน 1000 ก้อน เป็นเงิน 7000 บาท โดยที่ท่านมีแม่ค้ามารอรับกิโลละ 50 บาท ปกติแล้วเห็ดนางฟ้า 2-3 ก้อนจะเก็บได้นน.1 ขีด หรือคิดง่ายๆประมาณ 25 ก้อนได้ 1 กิโลกรัม ดังนั้นเห็ดรอบแรกทั้งรุ่นก็จะเก็บได้ประมาณ […]